วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ตัวอย่าง CPU


CPU INTEL



INTEL CELERON 440


AMD FX SERIES


ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง

1.หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
  ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ    การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
  หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรอง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
  คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล

การทำงานแบบขนานในระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (TLP)

การทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละโปรแกรมสามารถแบ่งตัวออกได้เป็นระดับกลุ่มชุดคำสั่ง (Thread) โดยในแต่ละกลุ่มสามารถทำงานขนานกันได้(TLP: Thread Level Parallelism) ในระดับ2

การทำงานแบบขนานในระดับคำสั่ง (ILP)

โดยการทำงานเหล่านี้ถ้าเป็นแบบพื้นฐานก็จะทำงานกันเป็นขั้นตอนเรียงตัวไปเรื่อยๆ แต่ในหลักความเป็นไปได้คือการทำงานในแต่ละส่วนนั้นค่อนข้างจะเป็นอิสระออกจากกัน จึงได้มีการจับแยกกันให้ทำงานขนานกันของแต่ละส่วนไปได้ หลักการนี้เรียกว่า pipeline เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง (ILP: Instruction Level Parallelism) โดยข้อมูลที่เป็นผลจากการคำนวณของชุดก่อนหน้าจะถูกส่งกลับไปให้ชุดคำสั่งที่ตามมาในช่องทางพิเศษภายในหน่วยประมวลผลเองการทำงานแบบขนานนี้สามารถทำให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกคือเพิ่มการทำงานแต่ละส่วนออกเป็นส่วนที่เหมือนกันในทุกกลุ่มแต่ให้ทำงานคนละสายชุดคำสั่งกัน วิธีการนี้เรียกว่าการทำหน่วยประมวลผลให้เป็น superscalar วิธีการนี้ทำให้มีหลายๆ ชุดคำสั่งทำงานได้ในขณะเดียวกัน โดยงานหนักของ superscalar อยู่ที่ส่วนดึงชุดคำสั่งออกมา (Dispatcher) เพราะส่วนนี้ต้องตัดสินใจได้ว่าชุดคำสั่งอันไหนสามารถทำการประมวลผลแบบขนานได้ หลักการนี้ก็เป็นการทำการประมวลผลแบบขนานในระดับการไหลของแต่ละคำสั่ง(ILP: Instruction Level Parallelism) เช่นกัน

การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง

การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกตามหน้าที่ได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ โดยทำงานทีละคำสั่ง จากคำสั่งที่เรียงลำดับกันไว้ตอนที่เขียนโปรแกรม
Fetch - การอ่านชุดคำสั่งขึ้นมา 1 คำสั่งจากโปรแกรม ในรูปของรหัสเลขฐานสอง
(Binary Code from on-off of BIT)
Decode - การตีความ 1 คำสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit) ตามจำนวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทำงานด้วยข้อมูลที่ใด
Execute - การทำงานตาม 1 คำสั่งนั้น คือ วงจรใดในไมโครโปรเซสเซอร์ทำงาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ
Memory - การติดต่อกับหน่วยความจำ การใช้ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยจำชั่วคราว (RAM, Register) มาใช้ในคำสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address)

Write Back - การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วยจำ Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคำสั่งต่อไป ภายหลังมีคำสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่

หน้าที่ของ CPU

หน้าที่คือตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทำคณิตศาสตร์ เป็นต้น
โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ
qอ่านชุดคำสั่ง (fetch)
qตีความชุดคำสั่ง (decode)
qประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)
qอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
qเขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)
  สถาปัตยกรรมของหน่วยประมวลผลกลาง ประกอบไปด้วย ส่วนควบคุมการประมวลผล (control unit) และ ส่วนประมวลผล (execution unit) และจะเก็บข้อมูลระหว่างการคำนวณ ไว้ในระบบเรจิสเตอร์

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

รวมสารพัดเหตุผล คุณเล่นเกมเพื่ออะไร?



ขอขอบคุณ Online Station สำหรับความรู้ดีๆ

Healthy gamer มาเป็นเกมเมอร์สุขภาพดีกันเถ๊อะ!





จาก Online Station

การเรียนจะเป็นอย่างไรถ้าคุณเล่นเกมไม่รู้เวลา

          ด้านการเรียน การงาน และสังคม ซึ่งผู้เล่นเกมจะหมกมุ่นอยู่แต่กับการเล่นเกมจนไม่สนใจในการเรียน ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ผลการเรียนตกต่ำลง ไม่มีสมาธิเวลาทำงาน และขาดสัมพันธภาพกับผู้อื่นโดยเฉพาะกับคนในครอบครัว จนก่อให้เกิดเป็นอาการซึมเศร้า วิตกกังวล และความเครียดได้ แต่ที่เด่นชัดคือจะมีการแยกตัวออกจากสังคม แล้วนำตนเองเข้าไปอยู่ในสังคมออนไลน์แทนซึ่งไม่มีปฏิสัมพันธ์ของความเป็นจริงแต่อย่างใด จึงอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจในทางลบได้ง่ายยิ่งขึ้น

เกมไม่ใช่ภัยของสังคมเสมอไปจริงหรือไม่

จากคำพูดของเหล่าเกมเมอร์ที่ได้กล่าวกันไว้ประมาณที่ว่า
            เกมก็ไม่ใช่ภัยสังคมเสมอไป อันเนื่องจากเด็กไทยไปคว้าแชมป์เกมออนไลน์ระดับโลกมาหลายรายการแล้ว เกมไม่ใช่มีเพียงการเก็บเลเวลเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการทำให้เราฝึกทักษะเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดนั่นแหละ เป้าหมายสูงสุดก็คือก็คือการเป็นแชมป์การแข่งขันของการเล่นเกมนั้นๆ เกมดีๆมีเยอะแยะขอเล่นให้มันถูกทาง การที่เกมเป็นภัยของสังคมนั้นมันอยู่วิจารณญาณของคนเล่นไม่ใช่ที่เกม” 


วิธีแก้ปัญหาติดเกม

การติดเกมแก้ได้ไม่ยากมีอยู่หลากหลายวิธี
        1. ปรับเวลาการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม
        2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
        3. อยู่กับเพื่อนๆ หรือ คนในครอบครัวให้มากขึ้น

เล่นเกมมากเกินไปแล้วพัฒนาการและพฤติกรรมเราจะเป็นอย่างไรกันนะ

          ด้านพัฒนาการ จะมีผลโดยตรงในเรื่องของด้านสังคม แม้ว่าเด็กจะมีสังคมแบบออนไลน์จากการเล่นเกมก็ตาม แต่ไม่เหมือนกับการปฎิสัมพันธ์ในสังคมของความเป็นจริง และอาจส่งผลถึงภาวะสภาพทางจิตใจของเด็ก เช่น ซึมเศร้า รู้สึกว้าเหว่ วิตกกังวล และเครียดจากการเล่นเกม เป็นต้น ที่สำคัญคือความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่ลดลง เด็กติดเกมมักไม่ค่อยเข้าร่วมกิจกรรมหรือสานสัมพันธ์กับคนในครอบครัว เพราะมัวแต่ครุ่นคิดอยู่กับการเล่นเกมเพื่อต้องการได้ชัยชนะ และยังหมายรวมถึงพัฒนาการทางสติปัญญาที่ลดน้อยลงเนื่องจากไม่ได้รับการฝึกฝนและไม่สนใจในการเรียนจนอาจทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง
          ด้านพฤติกรรมและสภาพจิตใจ เด็กติดเกมจะเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ด้วยการเลียนแบบมาจากเกมที่ตนเองเล่นอยู่แล้วนำมาใช้ในชีวิตจริง โดยเริ่มจากการมีความคิดและอารมณ์ที่รุนแรงจนแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมในที่สุด เนื่องจากการเล่นเกมนั้นจะมีบทบาทของผู้เล่นให้เป็นผู้กระทำความรุนแรงด้วยตนเองและได้รับรางวัลหรือไล่ระดับความสามารถในเกมนั้นๆขึ้นเรื่อยๆเป็นการเสริมแรงให้กับผู้เล่น ซึ่งพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงนี้สามารถส่งผลได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คือ
            1.ระยะสั้น คือ มาจากพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากปัจจัยในส่วนตัวบุคคลหรือจากบุคลิกภาพที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่กระตุ้นความก้าวร้าวจนแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมในที่สุด และจะเกิดขึ้นได้ง่ายมากหากได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก
            2.ระยะยาว โดยการที่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่มีความรุนแรงเป็นเวลานานทำให้บุคคลนั้นมีการรับรู้ แปลความหมาย ตัดสินใจ และตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆไปในทางก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้นจนทำให้เกิดเป็นความเคยชิน

เล่นเกมมากๆแล้วส่งผลต่อร่างกายเราอย่างไรล่ะ

          ด้านสุขภาพร่างกาย ทำให้มีเวลาในการออกกำลังกายลดน้อยลง และส่งผลโดยตรงในการแสดงออกเป็นอาการทางกายที่หาสาเหตุไม่ได้ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดท้อง เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เป็นต้น แต่เมื่อหยุดเล่นเกมแล้วอาการจะหายไปโดยการเล่นเกมนั้นทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น และยังสัมพันธ์กับการเป็นโรคอ้วนในเด็กและวัยรุ่นที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันด้วย นอกจากนี้การเล่นเกมอาจกระตุ้นให้เกิดอาการลมชักได้โดยโรคลมชักยังมีชนิดที่ไวต่อแสงซึ่งจะถูกกระตุ้นให้เกิดอาการลมชักจากการเล่นคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น และหากมีการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดส่วนต่างๆได้ ที่พบได้บ่อย คือ ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำที่ขา ทำให้การไหลเวียนของเลือดที่อวัยวะส่วนนั้นผิดปกติไป และอาจส่งผลถึงอาการปวดบวมอย่างรุนแรง
          

เด็กติดเกม คืออะไร?

          เด็กติดเกม คือ เด็กที่หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมมากเกินไปจนไม่สามารถควบคุมตนเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด ทำให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน กลับเพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน เมื่อถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะมีพฤติกรรมในเชิงต่อต้านหรือมีปฏิกิริยาที่แสดงออกถึงอาการหงุดหงิด ไม่พอใจอย่างรุนแรง ซึ่งบางคนอาจถึงขั้นก้าวร้าวได้ การเล่นเกมของเด็กมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็กโดยตรง เช่น เด็กไม่สนใจการเรียน หลับในห้องเรียน ไม่ทำการบ้าน หนีเรียน หรือแอบหนีออกจากบ้านเพื่อที่จะไปเล่นเกม ผลการเรียนตกลงจากเดิม มักชอบแยกตัวจากสังคมหรือไม่ค่อยทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เพราะมัวแต่อยู่ในสังคมของเกมที่ตนเองเล่นอยู่จนไม่ได้ใช้ชีวิตในสังคมของความเป็นจริง โดยบางรายอาจมีปัญหาทางพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วย เช่น โกหก ลักขโมย (เพื่อนำเงินไปเล่นเกม) ดื้อ ต่อต้าน แยกตัว เก็บตัว เป็นต้น

ความหมายของเกมออนไลน์

เกมออนไลน์ จัดว่าเป็นวีดีโอเกมที่เป็นลักษณะที่มีผู้เล่นหลายคน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยที่จะมีตัวละครเล่นแทนตัวเรา มีการพูดคุยกันในเกม สร้างสังคมช่วยกันต่อสู้ เก็บประสบการณ์ หรือ โดยเกมออนไลน์ส่วนมากจะเป็นเกมประเภท MMORPG ซึ่งผู้เล่นแต่ละคนจะสวมบทบาทเป็นตัวละครตัวหนึ่งในโลก สร้างสังคมออนไลน์ ในเกมสามารถสร้างห้องขึ้นมาเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยน มีการส่งข้อความถึงกันได้ในเกม เกมออนไลน์ เกมแรกที่เปิดให้บริการในประเทศไทยคือเกม King of Kings

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความหมายของวิดีโอเกม

วิดีโอเกมเป็นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงชนิดหนึ่ง ในรูปของการนำเอาเกมมาประยุกต์เล่นในคอมพิวเตอร์โดยใช้ภาษาต่างๆ มาเขียนตามแนวทางของผู้สร้างเกม ว่าจะสร้างให้เสมือนจริง หรือจะสร้างแบบเน้นกราฟิก การสื่อด้วยเทคนิคด้านภาพที่สมจริงโดยใช้ภาพแอนิเมชันเป็นต้น ลักษณะทั่วไปของเกมคอมพิวเตอร์คือ เป็นการจำลองสถานการณ์เพื่อให้ผู้เล่นแก้ไขปัญหา โดยจะมีกฎเกณฑ์ และเป้าหมายแตกต่างกันไปในแต่ละเกม

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ข้อมูลพื้นฐาน CPU

ข้อมูลพื้นฐาน
หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960